Be Inspired

น้ำมันหอมระเหยหรือ “Essential Oil”...สปอยล์ได้ทั้งผิวกายและจิตใจ

Dec 02,2020

 

ปัจจุบันเราสามารถสัมผัส Essential Oils หรือที่เรียกว่า “น้ำมันหอมระเหย” ได้บ่อยครั้งและหลากหลายมากขึ้น ในรูปแบบน้ำมันหอม เครื่องหอม หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์บำรุงผิว แต่จริง ๆ แล้วน้ำมันหอมระเหยคืออะไร? และน้ำมันหอมระเหยประเภทไหนที่ดีหรือเหมาะสำหรับเรา ที่นี่มีคำตอบ

 
‘น้ำมันหอมระเหย’ หรือ Essential Oils ซึ่งเป็นศาสตร์เก่าแก่ที่มนุษย์นำมารักษาและดูแลสุขภาพตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการจดบันทึกทางประวัติศาสตร์ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน คือภาพเขียนบนผนังถ้ำของเมือง Dordogne แห่งแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส ที่มีอายุย้อนมากกว่า 20,000 ปี เป็นภาพของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์กำลังใช้กลิ่นหอมบำบัดความเจ็บป่วยควบคู่กับสมุนไพรมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ 

ก่อนที่หลักฐานจากบันทึกลำดับแรกของประวัติศาสตร์มนุษยชาติจะระบุว่า ชาวอียิปต์โบราณค้นพบพลังแห่งการบำบัดที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหย และนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขั้นตอนการทำมัมมี่ (นิยมใช้แฟรงคินเซนส์ มดยอบ ชินนามอน และต้นสนจูนิเปอร์) นำมาปรุงเป็นน้ำหอม กำยาน อาหาร จนถึงกลิ่นหอมประจำกายของฟาโรห์และเคล็ดลับความงามของพระนางคลีโอพัตราตั้งแต่ 4,500 ปีก่อนคริสตกาล  

 
 
 
น้ำมันหอมระเหยคืออะไร?
 

“น้ำมันหอมระเหย” เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์หลากหลายชนิด ทั้งลำต้น เปลือกผล เปลือกไม้ เนื้อไม้ ดอก ใบ ราก เมล็ดยาง ฯลฯ มีคุณสมบัติในการรักษาโรค ช่วยให้สุขภาพดี ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้เกิดอารมณ์-ความรู้สึกที่ดีแก่ร่างกายและจิตใจ ใช้นวดตัวเพื่อบำบัด บำรุงผิวพรรณ ลดน้ำหนักหรือลดไขมันส่วนเกิน ฯลฯ น้ำมันที่มีโมเลกุลเล็กมากจะซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังอย่างรวดเร็ว มีคุณสมบัติเป็นน้ำมันที่ปราศจากไขมัน สามารถระเหย เจือจางได้เอง

การสกัดต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมากต่อน้ำมัน 1 กรัม บางครั้งต้องใช้วัตถุดิบ 150-5,000 กรัม โดยเฉพาะการผลิตน้ำมันจากกุหลาบ ที่ต้องใช้กลีบกุหลาบจำนวนมหาศาลในการสกัดเป็นน้ำมัน ดังนั้น กุหลาบจึงเป็นหนึ่งในจำนวนน้ำมันหอมที่มีราคาแพงติดอันดับต้น ๆ ของโลก ในกรรมวิธีการสกัดน้ำมันหอม นอกจากหัวเชื้อที่เป็นน้ำมันแล้ว ยังมี Hydrolate หรือน้ำหอมสกัดเป็นผลพลอยได้อีกด้วย

 
 
 
 
 
 
คุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหย
 

พืชพันธุ์และน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดมีการผสมผสานของส่วนผสมที่เป็นเอกลักษณ์ และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่น้ำมันสกัดจากพืชบางกลุ่มก็ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน อย่างเช่น 

คุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยูคาลิปตัส ขิง ลาเวนเดอร์ คาโมไมล์ คาร์ดามอน สน ตะไคร้ มาจอแรม มินต์ ส้ม โรสแมรี ไม้จันทน์ ต้นชา โหระพา จูนิเปอร์ มะนาว มะกรูด และไซเปรซ 
คุณสมบัติต้านไวรัส ด้แก่ ยูคาลิปตัส ลาเวนเดอร์ ไม้จันทน์ ต้นชา โหระพา ออเรกาโน อบเชย และมะนาว
คุณสมบัติต้านเชื้อรา ได้แก่ ยูคาลิปตัส ลาเวนเดอร์ พัตชูลี ไม้จันทน์ ต้นชา โหระพา จูนิเปอร์ และมะนาว
ผลการวิจัยของอัดนาน เรมมอล (Adnane Remmal) ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาของมหาวิทยาลัยเฟซ ในโมร็อกโก พบว่า น้ำมันหอมระเหยสามารถนำมาสกัดเป็นตัวยากำจัดเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ 
 
 
 
 
 
 

น้ำมันหอมระเหยยอดนิยม

 

 

น้ำมันหอมระเหยมักถูกนำมาใช้ในศาสตร์สุคนธบำบัด หรือที่เรียกกันว่า ‘อโรมา เธอราพี’ ซึ่งเป็นการใช้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชมาบำบัดหรือรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ มีการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อบำบัดด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น สูดดมกลิ่น ทาลงบนผิวหนัง นวดน้ำมัน หรือนำมาบริโภคโดยผสมกับชาหรือน้ำผึ้ง เป็นต้น

ปัจจุบันมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มากมายกว่า 90 ชนิด แต่ละชนิดต่างมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์และมีสรรพคุณแตกต่างกัน น้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย มีดังนี้
น้ำมันหอมระเหยจากขิง นอกจากการดื่มชาขิงจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้แล้ว การสูดดมน้ำมันหมอระเหยจากขิงก็อาจช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้เช่นกัน มีการสำรวจพบว่า มีศูนย์มะเร็งแห่งหนึ่งได้ทดลองใช้น้ำมันหอมระเหยนี้เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการฉายรังสี

น้ำมันหอมระเหยจากมะนาว อาจช่วยปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติได้ เรื่องนี้นักวิจัยพบว่าผู้ที่เผชิญภาวะซึมเศร้าได้ใช้ยาต้านเศร้าในปริมาณลดลง หลังจากได้ดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากมะนาว

น้ำมันหอมระเหยจากส้ม อาจช่วยระงับอาการวิตกกังวลได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเคยทำกรณีศึกษาคุณสมบัติของพืชตระกูลส้ม พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากส้มสามารถควบคุมความกดดันได้ และผู้ใช้ไม่มีอาการวิตกกังวลใดๆ เพิ่มขึ้น
น้ำหอมระเหยจากเปปเปอร์มินต์ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทดลองใช้น้ำมันหอมระเหยจากเปปเปอร์มินต์ในกลุ่มผู้ทดลองที่เป็นคนขับรถ พบว่า กลุ่มผู้ทดลองรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นหลังจากดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งยังพบด้วยว่า นักบาสเกตบอลที่ดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้รู้สึกมีพลัง และสามารถเล่นบาสเกตบอลได้ดียิ่งขึ้น
น้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น จากกรณีศึกษา พบว่ากลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ช่วยเพิ่มคลื่นสมองระดับอัลฟา (Brain Alpha Waves) ที่ส่งผลต่อภาวะผ่อนคลาย และการนอนหลับ รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ก่อนมีประจำเดือนได้ด้วย
 
 
 
 
 
เทคนิคเลือกน้ำมันหอมระเหยที่ ‘เวิร์ค’ สำหรับคุณ
 
 
ท่ามกลางน้ำมันหอมระเหยมากมายที่มีให้เลือกในท้องตลาด จะรู้ได้อย่างไรว่า น้ำมันหอมระเหยจากแบรนด์ใดที่สกัด ‘บริสุทธิ์’ จากธรรมชาติ และจัดอยู่ใน Medical Grade (มาตรฐานทางการแพทย์) เรามีเทคนิคที่จะช่วยให้คุณเลือกน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพสูงและช่วยบำบัดโรคได้จริง

ความบริสุทธิ์ : ควรเลือกน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จากธรรมชาติหรือพืชพรรณออร์แกนิค ไม่มีสารเติมแต่งหรือน้ำมันสังเคราะห์ใด ๆ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยราคาถูกมักจะใช้วิธีเจือจางด้วยน้ำหอมและน้ำมันสังเคราะห์เพื่อลดต้นมุนการผลิต สังเกตง่าย ๆ ว่า น้ำมันบริสุทธิ์จะมีรายชื่อพฤกษศาสตร์ของพืช (เช่น Lavandula officinalis) มากกว่าการใช้แค่คำว่า "น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์" 

คุณภาพ: น้ำมันหอมระเหยที่แท้จริง คือน้ำมันที่ผ่านกระบวนการสกัดบริสุทธิ์ ควรเลือกน้ำมันหอมระเหยปลอดสารเคมี (Chemical-free Essential Oil) ที่สกัดด้วยกระบวนการกลั่นหรือการสกัดเย็น

ชื่อเสียงของแบรนด์: เลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้คุณได้รับน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพและช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้
 
 
 
 
 

5 โรคยอดนิยมของคนยุคใหม่ ที่รักษาได้ด้วยน้ำมันหอมระเหย
 
 
ทราบมั้ยว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) นอนไม่หลับ (Insomnia) พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดสะสม ปวดเมื่อยตลอดเวลา อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย ภูมิแพ้ ผิวไม่สดใส ใต้ตาหมองคล้ำ ฯลฯ สารพัดโรคที่คนยุคใหม่เจ็บป่วยกันมาก ที่จริงแล้วคนโบราณค้นพบการรักษามากว่าพันปี ด้วยวิถีธรรมชาติบำบัดโดยไม่ต้องพึ่งยาและสารเคมีเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว

จากผลการสำรวจและค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยที่มีต่อการรักษาโรคของคนยุคใหม่โดย National Institutes of Health (NIH) แห่งสหรัฐอเมริกา สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน พบว่า น้ำมันหอมระเหยมีส่วนช่วยในการบำบัดอาการเหล่านี้ ได้แก่
 
 
 

 
1. โรคเครียดและวิตกกังวล : งานวิจัยพบว่า 43% ของคนที่มีความเครียดและวิตกกังวล สามารถบรรเทาได้ด้วยกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะผลึกกำยานแฟรงคินเซนส์จากประเทศโอมาน ที่ผ่านการวิจัยทางคลินิคแล้วว่า สามารถบรรเทาอาการวิตกกังวลและลดความเครียดสะสมได้เห็นผลจริง เช่นเดียวกับโรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ และอิลัง อิลัง (กระดังงา)

 
 
 
2. ปวดศีรษะและไมเกรน : จากบันทึกโบราณที่ว่า ชาวเปอร์เซียนิยมใช้น้ำมันหอมระเหยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุค s90 ที่มีการใช้ในน้ำมันหอมระเหยกลิ่น Peppermint และส่วนผสมของเอทานอลในการนวดขมับและหน้าผากของกลุ่มทดลอง ซึ่งยืนยันว่า ช่วยบรรเทาอาการได้จริง สอดคล้องกับงานวิจัยล่าสุดที่พบว่า อาการปวดศีรษะลดลงหลังใช้น้ำมันหอมระเหยจากเปปเปอร์มินท์และลาเวนเดอร์ โดยเฉพาะการใช้ควบคู่กับส่วนผสมของดอกคาโมมายล์ จะช่วยรักษาอาการปวดหัวและไมเกรนได้ดีขึ้น แบบเดียวกับการรักษาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย
 
 
 
 
 
3. นอนไม่หลับและอ่อนเพลียเรื้อรัง : ปัจจุบันประชากรทั่วโลกประสบปัญหานอนไม่หลับราว 2,000 ล้านคน ส่วนประเทศไทยมีคนที่นอนไม่หลับมากกว่า 19 ล้านคน ซึ่งนำไปสู่ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังและซึมเศร้าได้ งานวิจัยพบว่า น้ำมันหอมระเหยของลาเวนเดอร์มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ร่างกายและจิตใจรู้สึกสุขสงบและผ่อนคลาย และเข้าสู่สภาวะหลับลึกได้อย่างรวดเร็ว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ (Insomnia) หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ   
 
 
 
 
4. ลดการอักเสบ : เป็นที่เชื่อกันมาตั้งแต่ยุคอียิปต์ จีน และอินเดียโบราณว่า น้ำมันหอมระเหยสามารถรักษาอาการอักเสบได้ จากการทดลองของ NIH พบว่า น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ ขณะที่ไทม์ (Thyme) ออริกาโน (Origano) เมล็ดยี่หร่า (Caraway) และโรสแมรี่ มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายของลำไส้ใหญ่ได้
 
 
 
 
5. ลดการติดเชื้อและลดการอักเสบของผิว : น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพและลดการอักเสบ อาทิ เปปเปอร์มินท์และทีทรี ออยล์ ที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ความงามเพื่อการบำรุงผิวพรรณอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน


 
ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย

แม้ว่าน้ำมันหอมระเหยเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แต่ก็อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป เนื่องจากพืชและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืชมักมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้บางรายได้ การสูดดมหรือทาน้ำมันหอมระเหยบนผิวหนังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดอาการแพ้ มีอาการของโรคหืด อาทิ หายใจติดขัด หายใจไม่เต็มปอด เจ็บหน้าอก เป็นต้น หากพบอาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับตนเอง ควรหยุดใช้ หรือปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป


เชื่อว่า น้ำมันหอมระเหย หรือ Essential Oil เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการปลอบประโลมร่างกายและจิตใจให้กับคนที่ไม่ต้องการรับประทานยาเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของตับ ไต และอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ทั้งยังเป็นศาสตร์กลิ่นหอมบำบัดที่ช่วยดูแลร่างกายและจิตใจในเวลาเดียวกัน 


Neal’s Yard Remedies ผู้นำด้านพรีเมียมสกินแคร์ออร์แกนิคจากประเทศอังกฤษ ได้ค้นคว้าวิจัย Essential Oil และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ อ่อนโยนสำหรับทุกคน จนถึงสัตว์เลี้ยง พร้อมกลิ่นหอมที่มีให้เลือกกว่า 50 กลิ่น Essential Oil Blend ที่ผสมผสานกลิ่นหอมที่ช่วยรับมือกับสภาวะต่าง ๆ ของจิตใจได้อย่างลงตัว และ Create Your Own ให้คุณผสมกลิ่นหอมเฉพาะตัวลงในครีมบำรุงผิวหน้า โลชั่นบำรุงผิว แชมพู และออยล์อาบน้ำ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเพียงขวดเดียวในโลก ค้นพบพลังอโรม่าเธอราพีจากพืชออร์แกนิคนานาพันธุ์ได้ที่  >>  https://bit.ly/2QwxlE2