Be Inspired

The Ultimate Guide to Anti-Septic Essential Oils

Jul 08,2020

 

คู่มือต้านเชื้อโรคด้วยน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ

  

Essential Oil หรือน้ำมันหอมระเหยนั้น เป็นธรรมชาติบำบัดชนิดหนึ่งที่มีมาแต่สมัยอียิปต์โบราณ 4,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้มีการใช้ทางการแพทย์ต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุปันที่มีงานวิจัยรองรับประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยอย่างแพร่หลาย ในต่างประเทศมีการนำมาใช้ในโรงพยาบาลด้วย


การสกัดน้ำมันหอมระเหยแต่ละครั้งนั้น ต้องคัดเลือกแต่พืชที่ได้เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม และคัดแต่ผลผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งใช้จำนวนมหาศาลกว่าจะได้มาเป็นหัวเชื้อเข้มข้นแต่ละหยด พืชบางชนิดปลูกได้จำกัดแค่บางพื้นที่บนโลกและเก็บเกี่ยวได้แค่ปีละครั้ง โดยเฉพาะยิ่งเป็นแบบออร์แกนิคก็จะยิ่งมีทรัพยากรจำกัด เราจึงเห็นน้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีราคาสูงกว่าปกติมาก แต่สิ่งที่ได้กลับมาก็คือคุณภาพที่สูงขึ้นนั่นเอง

น้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละชนิดจะมีส่วนประกอบทางโมเลกุลที่ต่างกันไป ทำให้มีคุณสมบัติสำคัญในการรักษาที่ต่างกัน นักวิจัยพบว่าพืชบางชนิดมีโมเลกุลทางเคมีเหมือนกับยาแผนปัจจุบันเลยทีเดียว (ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่ก็มีวิวัฒนาการมาจากการสกัดพืช) อ้างอิงงานวิจัยปัจจุบันพบว่าคุณสมบัติมีตั้งแต่ ลดอาการปวด เพิ่มสารในสมองที่ทำให้ผ่อนคลาย จนไปถึงลดอาการติดเชื้อได้ด้วย

วันนี้จะมาแนะนำน้ำมันหอมระเหยกลุ่ม Anti-Septic หรือกลุ่มที่มีคุณสมบัติสำคัญในการต้านเชื้อโรค กลุ่มนี้มีงานวิจัยชี้แนะว่าสามารถช่วยลดจำนวนเชื้อ ทำให้การขยายตัวของเชื้อช้าลง ในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของต่างประเทศนิยมใช้น้ำมันหอมระเหยแทนสารกันบูด (natural preservatives) อย่างไรก็ดีควรใช้เป็นตัวช่วยภูมิคุ้มกันร่างกายทางอ้อม แต่ไม่ควรใช้แทนการรักษาใดๆ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ หากมีโรคประจำตัวค่ะ


The Must-Have Anti-Septics น้ำมันหอมระเหยต้านเชื้อ ของดีต้องมีติดบ้าน!
 
1.) Frankincense (แฟรงคินเซนส์)
กลิ่นหอมเฉพาะตัว กลิ่นแมกไม้อบอุ่นผสมกลิ่นเครื่องเทศอ่อนๆ น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ผลิตมาจากเรซินหรือยางอำพันของต้นแฟรงคินเซนส์ นอกจากจะช่วยปรับสารสื่อสมองให้รู้สึกคลายกังวลแล้ว น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อโรคได้เป็นเลิศ
 
ไปได้ดีกับ: เบอร์กามอท (bergamot), ลาเวนเดอร์ (lavender), เลม่อน (lemon)
ระวัง: ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์
 
 
2.) Eucalyptus (ยูคาลิปตัส)
น้ำมันหอมระเหยยอดนิยมที่ใครๆ ก็ต้องรู้จัก ทำจากใบและกิ่งของต้นยูคาลิปตัส มีคุณสมบัติที่หลากหลายมาก รวมทั้งเป็นส่วนผสมสำคัญในกลุ่มยาที่ใช้ทาและสูดดมต่างๆอีกด้วย ขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อโรคและลดอาการแน่นจมูก
 
ไปได้ดีกับ: เจอราเนียม (geranium), ลาเวนเดอร์ (lavender), เลม่อน (lemon)
ระวัง: ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ ผู้ให้นมบุตร เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ผู้ป่วยโรคลมชัก, โรคความดันสูง, และโรคมะเร็งบางชนิด (estrogen-dependant cancer)
 
 
3.) Tree Tea (ทรี ที)
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นหอมสดชื่น ที่มักจะอยู่ในชุดปฐมพยาบาล first aid kit ของสาวๆ นอกจากจะมีคุณสมบัติดังเรื่องรักษาสิวและผิวที่ระคายเคือง ยังเด่นในเรื่องต้านเชื้อโรคต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ถือว่าไอเทมที่ต้องมีติดบ้านกันค่ะ
 
ไปได้ดีกับ: โรสแมรี่ (rosemary), ลาเวนเดอร์ (lavender), โคลฟ์ (clove)
ระวัง: ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หรือใช้บนแผลเปิด

4.) Lavender (ลาเวนเดอร์)
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นดอกไม้ที่มีความหอมเฉพาะตัว มาจากดอกและใบของต้นลาเวนเดอร์ ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังของกลิ่นที่หลายคนชื่นชอบนั้น แฝงไปด้วยคุณสมบัติมากมาย ช่วยให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทที่ทำให้ผ่อนคลาย หลับสบาย ลดอาการปวด และต้านเชื้อโรค รวมถึงลดอาการแน่นจมูกได้ด้วย
 
ไปได้ดีกับ: ยูคาลิปตัส (eucalyptus) ทรี ที (tea tree) โรสแมรี่ (rosemary)
ระวัง: อาจทำให้ง่วงนอนได้ ไม่ควรใช้ก่อนขับรถ ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด (estrogen-dependant cancer)
 
 
5.) Lemon เลม่อน
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปรี้ยวชื่นใจจากผลเลม่อน ได้กลิ่นแล้วอารมณ์ดีกระปรี้กระเปร่าขึ้นทันที น้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ นิยมใช้ลดอาการปวดหัวและคลื่นไส้ และแน่นอนยังช่วยต้านเชื้อโรคอีกด้วย
 
ไปได้ดีกับ: เจอราเนียม (geranium), ลาเวนเดอร์ (lavender), กระดังงา (ylang-ylang)
ระวัง: หากใช้บนผิวหนัง ควรเลี่ยงแสงแดด




Home Remedies DIY สูตรต้านเชื้อง่ายๆทำเองได้ที่บ้าน
 
 

Dr. Nicha’s Lung Healing Diffusion

 
สูตรนี้เป็นสูตรประสิทธิภาพสูงสำหรับการฟื้นฟูผิวปอด โดยผ่านวิธีการสูดดมซึ่งจะช่วยให้สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยสามารถเดินทางไปลึกถึงในปอดได้ แต่ห้ามสูดดมโดยตรงนะคะ วิธีที่ง่ายที่สุดและคุ้ยเคยกันดีในการใช้น้ำมันหอมระเหยก็คือผ่านเครื่อง Diffuser ส่วนใครจะมาดัดแปลงใช้พร้อมกับเวลาอาบน้ำก็ไม่ว่ากันค่ะ
 

 
 
2 หยด - น้ำมันหอมระเหย แฟรงกินเซนส์ (frankincense)
 
 
 
 
2 หยด - น้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัส (eucalyptus)

 
Diffuser Method
วิธีใช้: หยดใส่เครื่องพ่นน้ำมันหอมระเหย (diffuser) ใส่น้ำปริมาณตามคำแนะนำของเครื่องนั้นๆ เติมน้ำมันหอมระเหยตามสูตรข้างต้นทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

Steam Shower Method
วิธีใช้: หยดน้ำมันหอมระเหยใส่ถ้วย และนำเข้าไปวางในห้องอาบน้ำด้วย ปิดประตู หรือม่าน เปิดน้ำอุ่น-ร้อนอาบ ความร้อนจะทำให้น้ำมันหอมระเหยที่วางไว้ระเหยขึ้นมาพร้อมไอน้ำ สูดดมอย่างน้อย 5 นาที ห้ามรับประทาน

 
 
 
Dr. Nicha’s Decongestant Rub
 
สมัยเด็กเวลาหายใจไม่ออก คุณแม่มักจะเอาบาล์มกลิ่นยูคาลิปตัสมาทาแถวคอและหน้าอกเพื่อให้หายใจโล่งขึ้น สูตรนี้เป็นสูตรที่ทำเองได้ง่ายๆ แถมไร้สารเคมีอีกด้วย
 

 
 
60 มล. - โลชั่น หรือ ออย์ทาผิว แบบไม่มีกลิ่น
 
 
 
 
4 หยด - น้ำมันหอมระเหย ทรี ที (tea tree)
 
 
 
 
 
2 หยด - น้ำมันหอมระเหย แฟรงกินเซนส์ (frankincense)
 
 
 
 
2 หยด - น้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัส (eucalyptus)
 
 
 
 
2 หยด - เลม่อน (lemon)
 

วิธีทำ: รวมส่วนผสมทั้งหมด คนให้เข้ากัน ใส่กระปุกหรือขวดที่มีฝา
วิธีใช้: ใช้ครั้งละ ½ ช้อนชา หรือเท่าเหรียญบาท ทาลงบริเวณคอและหน้าอก 2-3 ครั้งต่อวัน ห้ามรับประทาน

 
 
 
Dr. Nicha’s Anti-Septic Room Spray
 
 
 
 
อากาศที่เราสูดดมนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากสเปรย์ฆ่าเชื้อส่วนใหญ่มักมีกลิ่นฉุด และอาจจะสร้างความระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้หากใช้ปริมาณมากไป ถ้าอยากฉีดถี่ๆอย่างสบายใจ ลองมาทำสเปรย์ฉีดห้องที่สร้างกลิ่นหอม ต้านเชื้อโรค และปลอดภัยต่อตัวเรากันดีกว่าค่ะ
 

 
 
 
120  มล. - น้ำเปล่า
 
 
 
 
15 หยด - น้ำมันหอมระเหย ยูคาลิปตัส (eucalyptus)
 
 
 
 
10 หยด - เลม่อน (lemon) หรือ ลาเวนเดอร์ (lavender)
 

วิธีทำ: รวมส่วนผสมทั้งหมด ขวดที่มีฝาสเปรย์ เขย่าให้เข้ากัน
วิธีใช้: เขย่าทุกครั้งก่อนใช้ ฉีดไปในอากาศ 3-4 ครั้ง และสูดดม ฉีดทุกๆ 1-2 ชม. ห้ามรับประทาน